images
images
images

Polymer-Flocculant (cat & an)

Chemical for Wastewater Treatment Process

เนื่องจากต้องใช้เคมีในการบำบัดระบบน้ำเสีย จึงต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการ Chemical Design Program ให้เหมาะสมกับกระบวนการบำบัดน้ำเสียทุกประเภท ทั้งการเลือกสารเคมีของ Coagulant และ Flocculant ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด Coagulant จะเหมาะกับน้ำเสียที่มีสารแขวนลอยที่ไม่สามารถตกตะกอนเองได้ จึงจำเป็นต้องใช้สารเคมีในระบบ ทำการกวนให้เข้ากัน (Rapid Mixing)และเกิดการรวมตัวกันจนเป็นตะกอนใหญ่ขึ้นและตกลงสู่ก้นถังได้ Flocculant คือขั้นต่อที่ต่อจาก Coagulation โดยจะเป็นระบบกวนช้า (Slow Mixing) เพื่อสร้างตะกอนน้ำเสียให้มีขนาดใหญ่และหยาบมากขึ้น ทำให้ตกตะกอนได้ดียิ่งขึ้น การเลือกใช้สาร Flocculant ในแต่ละระบบอาจแตกต่างกัน เนื่องจาก Polymer ที่ใช้ในระบบมีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่
1. Cationic Polymer (โพลิเมอร์ประจุบวก)
2. Anion Polymer (โพลิเมอร์ประจุลบ)
ทั้งนี้จึงต้องใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการในการเลือกใช้สารเคมี ให้เหมาะสมกับการบำบัดน้ำเสียในแต่ละประเภท

Chemical for Cooling Treatment Process

เนื่องด้วยระบบหล่อเย็นโดยทั่วไปจะพบปัญหาในเรื่องของการกัดกร่อน การเกิดตะกรัน และ ตะไคร่น้ำ ที่อาจจะส่งผลกระทบให้ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) ลดลงหรือใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อให้ประสิทธิภาพเท่าเดิม รวมไปถึงการผุพังของท่อในระบบด้วย ทั้งนี้จึงต้องใช้สารเคมีร่วมด้วยเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและยืดอายุการใช้งานของวัสดุในระบบหล่อเย็นแบบเปิดและแบบปิด ซึ่งเคมีที่ใช้ในระบบหล่อเย็นที่จะช่วยแก้ไขปัญหามีทั้งหมด 3 ประเภทดังนี้

1. Anti-Scale inhibitor เป็นเคมีสำหรับป้องกันการเกิดตะกรันในระบบซึ่งเป็นสาเหตุของการแลกเปลี่ยนความร้อนที่มีประสิทธิภาพลดลงและอาจเกิดปัญหาการกัดกร่อนในรูปแบบของตามดที่อยู่ในตะกรันที่เกาะอยู่ตามผิวท่อ

2. Corrosion inhibitor เป็นเคมีที่ช่วยลดการกัดกร่อนภายในเส้นท่อโดยตรง ด้วยกระบวนการใช้แร่ธาตุในเคมีและในน้ำสร้างชั้นฟิล์มขึ้นมาเพื่อเคลือบผิวท่อไว้ จะช่วยลดการเกิดการกัดกร่อนที่มาจากออกซิเจนในน้ำและแร่ธาตุบางชนิดในน้ำด้วย

3. Biocide and Slime control เป็นเคมีสำหรับค่าเชื้อแบคทีเรียในน้ำ (ตะไคร่,ลา,เมือก) ซึ่งเกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรียในน้ำสังเคราะห์แสงเป็นอาหาร จึงทำให้เกิดคราบตาม Cooling Tower หรือ เส้นท่อ จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนความร้อนลดลง (Heat Exchanger Decrease) และอาจทำให้เกิดการอุดตันในเส้นท่อและเกาะตัวกัดตามผนังท่อ จะส่งผลกระทบให้เกิดการกัดก่อนด้วยเช่นกัน ทั้งนี้สารเคมีทั้ง 3 ตัวที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จึงจะเป็นต่อระบบน้ำหล่อเป็นเป็นอย่างมาก แต่การเลือกใช้ Chemical Program จึงต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญด้วย เนื่องจากน้ำแต่ละชนิดที่นำมาใช้ในระบบหล่อเย็นมีคุณภาพน้ำที่แตกต่างกัน จึงต้องใช้สารเคมีที่ต่างชนิดกันเพื่อให้เหมาะสมกับชนิดของน้ำและชนิดของระบบแลกเปลี่ยนความร้อน

images
images
images
images

PRTR

Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore.

บำบัดอากาศ

Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore.

GI

Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore.